วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Cougars - slang

เมื่อ โพสที่แล้วพูดถึง 'are you into a cougar?' ซึ่งเป็น slang ที่ใช้กัน โดยที่ผมเกร่นไว้ว่า Cougar จะหมายถึง Sexy woman in their 35s who likes to date younger man- ผู้หญิงที่มีอายุ 35 ขึ้นไป (โดยประมาณ)  และชอบควงผู้ชายที่อายุน้อยกว่า

ความหมายจาก etymonline บอกไว้ว่า
Cougar - Slang sense of "older woman (35-plus) who seeks younger males as sex partners" is attested by 2002; said in some sources to have originated in Canada, probably from some reference to predatory feline nature.

ผู้หญิง อายุ 35+ ที่ต้องการหาเพื่อนชายที่อายุน้อยกว่าเป็นคู่นอน ต้นกำเนิดระบุไว้ในปี 2002 โดยคาดว่าแหล่งกำเนิดมาจากแคนาดา ที่ใช้คำนี้เพราะธรรมชาติของ Cougar เป็นแมวนักล่า

ส่วนเว๊บ meriam-webster ให้ความหมายคล้ายๆกันคือ

slang :  a middle-aged woman seeking a romantic relationship with a younger man  

ส่วนคำอื่นๆที่มีความหมายคล้ายกันกับ Cougar คือ
puma - หมายถึงหญิงที่อายุน้อยกว่า cougar แต่ก็ชอบควงเด็กหนุ่มกว่าเช่นเดียวกับ cougar  

sugar mama - an older woman who buys extravagant gifts for a person and may/most likely will receive sexual favors, in return. (น่าจะคล้ายๆกับแม่ยกของไทย มักจะมีเงิน ร่ำรวย ชอบซื้อของให้ ชอบใช้เงินเพื่อแลกกับสิ่งที่ตนต้องการ เช่น เซ็กซ์)

hot mom - sexy mom (ใช้คุยกันระหว่างเพื่อน ความหมายทางดีหรือไม่ดีขึ้นกับบทสนทนาขณะนั้น)

hottie - an attractive person (อันนี้ใช้ได้ทั้งชายและหญิง และไม่อ้างอิงถึงอายุ)

ส่วน kitten, panther, sugar baby จะหมายถึงผู้หญิงสาวๆที่ชอบออกเดทกับผู้ชายอายุมากกว่า

ส่วนถ้าผู้ชายแก่ๆที่ชอบผู้หญิงสาวๆ ก็จะมีคำต่อไปนี้
sugar daddy, rhino
Trout = 40 something male hanging out in clubs looking for younger females to prey on. (male Cougar)  ชายอายุ 40 ขึ้นที่ชอบหาสาวๆ

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

to be into

วันนี้อยู่ดีๆก็มีคนแอ๊ด MSN มา (เก่ามากเลยใช่มั้ย 555 ใครยังใช้อยู่ แสดงตนหน่อยครับ)

ทักมาว่า

" well I'm home for the summer from college, trying to get myself into some trouble ;) lol are you into college girls or cougars?"

เขาคงอยากจะให้ผมไปเข้าเว๊บวับๆแวมๆอะครับ ถามมาว่า "Are you into college girls or cougars?"

"สนใจเด็กมหาลัย หรือว่า สาวใหญ่เซ็กซี่คะ"

to be into = to be interested (ไม่ใช่ to be interesting)

Are you into a movie tonight?
สนใจจะไปดูหนังคืนนี้มั้ย

I am into traveling aboard this summer. Does anyone want to join?

ส่วน คำว่า Cougar นั่นก็เป็น slang ที่ใช้หมายถึงสาวใหญ่เซ็กซี่ที่มักชอบเดทกับเด็กหนุ่มที่อายุน้อยกว่านั่น แหละครับ คำอื่นๆที่มีความหมายทำนองเดียวกัน ก็มี Sugar mama, hot mom (จริงๆมีมากกว่านี้ แต่เอาไว้อีกโพสต์ดีกว่า 555)


วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Good Times - Edie Brickell

ผม ฟังเพลง Good Times ครั้งแรกจากคอมพิวเตอร์ โดยมันมาใน windows 95 เป็นวิดิโอตัวอย่าง ฟังแล้วชอบมากๆ หลังจากที่คอมเครื่องนั้นได้ถูกโล๊ะไปแล้ว ก็ไม่ได้ฟังมันอีกเลย จนกระทั่งไม่นานมานี้ ขณะขับรถและเปิดวิทยุก็ได้ยินเพลง Good Times ขึ้นมา ทำให้รำลึกถึงความหลังและความชอบของเพลงนี้ขึ้นมาในทันที เลยลองมาค้นหาใน youtube ก็เจอหลายเวอร์ชั่น

good times เวอร์ชั่นบน windows 95

ทีนี้ลองมาดูเนื้อร้องกันนะครับ ซึ่งผมคิดว่ามีหลายจุดที่น่าสนใจ

คำศัพท์
appealing - attracting, pleasing (น่าดึงดูด น่าสนใจ)
beat up - old, worn-out, almost broken (โปเก โทรม)
walk you to the door - send you out, say good bye (ไปส่ง บอกลา)

Edie Brickell & New Bohemians Good Times lyrics

You don't even have to try
it comes easy for you
the way you move is so appealing it could make me cry
go out drivin' with my friends
in Bobby's big old beat up car
I'm with a lot of people, then I wonder where you are

คุณไม่ต้องพยายาม มันง่ายสำหรับคุณ
ท่าทางคุณมันช่างน่าดูเหลือเกินจนฉันอยากร้องออกมา
ฉันออกไปขับรถเล่นกับเพื่อนๆ
ในรถที่จะพังมิพังแหล่คันใหญ่ของบ๊อบบี้
ฉันอยู่กับคนเยอะแยะ แต่ฉันอยากรู้ว่าคุณอยู่ที่ไหน

Good times, bad times gimme some of that
Good times, bad times gimme some of that
Good times, bad times gimme some of that
Ooh woo ooh
เวลาดีๆ เวลาแย่ๆ ได้รับมาหมด

I don't wanna say goodbye
don't wanna walk ya to the door
I spent a little time with you, I want a little more

ไม่อยากบอกลาเลย ไม่อยากเดินไปส่ง
อยากอยู่กับเธออีกหน่อย อยากได้เวลาอีกนิด

Good times, bad times gimme some of that
Good times, bad times gimme some of that
Good times, bad times gimme some of that
ooh woo ooh

(male spoken part)

And baby really, I don't have to...
I don't have to go anywhere right now.
You want some more, you want some more a' this
Edie, whatever you want baby, just,
say it
aaaaaaaah, just say it

ที่รัก ผมยังไม่ต้องไปตอนนี้ ถ้าคุณต้องการเวลาอีก อีดี้
อะไรที่คุณต้องการ แค่บอกมา บอกผมมา

Good times, bad times gimme some of that
Good times, bad times gimme some of that
Good times, bad times gimme some of that
Ooh woo ooh

Now want those good, good ,good times
and not those bad, bad, bad times
I want those good, good, good ,good times
gimme some that..........
ต้องการเวลาดีๆ ไม่เอาเวลาแย่ๆ ให้ฉันหน่อยนะ


ลอง สังเกตวลี Bobby's big old beat up car จะเห็นว่ามีคำขยายนำหน้า car ตั้งหลายคำ ภาษาอังกฤษมีหลักการในการเรียงลำดับ ตรงนี้อาจจะต้องอ่านบ่อยๆ แล้วจะพอที่จะจับหลักได้
หลักการที่ใช้มีลำดับดังนี้
  1. Determiners – a, an, the, my, your, several, etc.   (ฺBobby's)
  2. Observations – lovely, boring, stimulating, etc.
  3. Size – tiny, small, huge, etc.                                   (Big)
  4. Shape – round, square, rectangular, etc.
  5. Age – old, new, ancient, etc.                                  (Old)
  6. Color – red, blue, green, etc.
  7. Origin – British, American, Mexican, etc.
  8. Material – gold, copper, silk, etc.
  9. Qualifier – limiters for compound nouns.             (Beat up)

That is my shining little oval new red Thai copper ruby ring.
สังเกตุว่าสิ่งที่อยู่ใกล้นามมักจะเป็นคุณสมบัติติดตัวมัน เช่น สภาพ วัสดุ สี
รองลงมาก็เป็นรูปร่าง ขนาด และ ถัดไปก็คือสิ่งที่ผู้บรรยายแสดงความเห็น ปริมาณ เจ้าของ

วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

กฎอัยการศึก Martial Law

วันที่ 20 พค. 2557 ผมตื่นมาทำงานเดินผ่านคุรุสภาเพื่อจะไปทำงานตามปกติ ก็สังเกตุเห็นทหารกองหนึ่ง มีจำนวนมากกว่าทุกที ปกติบริเวณนี้จะเป็นที่ตั้งของทหารในสถานการณ์การชุมนุมประท้วงของ กปปส ที่ผ่านมาอยู่แล้ว ไม่ได้รู้สึกแปลกอะไรมาก แต่รู้สึกถึงความเคลื่อนไหวของทหารที่แสดงอำนาจมากขึ้น

พอมาถึงที่ทำงาน ได้ยินข่าวว่า ผบ.ทบ. ประกาศกฎอัยการศึกไปตั้งแต่ ตี 3 ที่ผ่านมา โทรทัศน์แทบทุกช่องยังคงรายการตามปกติ ไม่ได้รู้สึกถึงความรุนแรงอะไร ศอ.รส ถูกยุบไปแล้ว กปปส ประกาศยกเว้นการเคลื่อนไหว เพื่อติดตามสถานการณ์

แล้วกฎอัยการศึกมันคืออะไร ตามประกาศเมื่อคืนอ้างถึงพรบ.กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 (หรือว่าผมดูผิด 2557 หรือเปล่า) จริงๆคือ 2457 นะครับ มาตราที่อ้างถึงคือ มาตรา 2 และ มาตรา 6

ถ้าดูตาม พรบ.กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 ซึ่งประกาศในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและยกเลิก พรบ.กฎอัยการศึก พ.ศ 2450 และก็ใช้มาจนถึงปัจจุบัน อาจจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปล่าไม่แน่ใจครับ

ตาม พรบ มาตรา 2 ที่อ้างถึงในการประกาศกฎอัยการศึกคืนที่ผ่านมา


มาตรา 2 เมื่อเวลามีเหตุอันจำเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อยปราศจากภัย ซึ่งจะมาจากภายนอกหรือภายในราชอณาจักรแล้ว จะได้มีประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้กฎอัยการศึกทุกมาตราหรือแต่บางมาตรา หรือ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งของมาตรา ตลอดจนการกำหนดเงื่อนไขแห่งการใช้บทบัญญัตินั้นบังคับในส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอณาจักรหรือตลอดทั่วราชอณาจักร และถ้าได้ประกาศใช้เมื่อใด หรือ ณ ที่ใดแล้ว บรรดาข้อความในพระราชบัญญัติ หรือบทกฎหมายใดๆ ซึ่งขัดกับความของกฎอัยการศึกที่ให้ใช้บังคับต้องระงับและใช้บทบัญญัติของกฎอัยการศึกที่ให้ใช้บังคับนั้นแทน


าตรา 6 ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ผ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยและเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนต้องปฏิบัติตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร

จะเห็นได้ว่า พรบ กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 ได้ให้อำนาจพระเจ้าอยู่หัว ณ ขณะนั้นในการประกาศใช้ตาม มาตรา 2 เพื่อความจำเป็นในการรักษาความสงบเรียบร้อยของราชอณาจักรไทย และให้มีผลครอบคลุมเหนือกฎหมายอื่นๆ ถ้ามีข้อความขัดแย้งกัน หมายความว่า ให้ปฎิบัติตามกฎอัยการศึกอย่างเดียว ในช่วงเวลานั้น

ส่วนมาตรา 6 นั้น ได้ให้อำนาจสูงสุดกับฝ่ายทหาร ในการระงับ ปราบปราม เจ้าหน้าที่ฝ่ายอื่นๆที่มีหน้าที่เกียวกับการยุทธ (ฝ่ายตำรวจ) ต้องเชื่อฟังตามฝ่ายทหาร และปฏิบัติตามความต้องการของฝ่ายทหาร

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า จาก 2 มาตราดังกล่าว กฎอัยการศึกได้ให้อำนาจกับทหารเต็มที่ในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย เมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ก็ให้มีการประกาศยกเลิกได้ ยังไม่ถือเป็นการปฎิวัติล้มล้างอำนาจของรัฐบาล รัฐบาลก็ยังคงมีอยู่ แต่ว่ารัฐบาลไม่มีอำนาจตาม พรบ อัยการศึกดังกล่าว

จะว่าไป ณ ปี 2457 เรายังอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไม่มีรัฐธรรมนูญปกครองเช่นทุกวันนี้ ถ้ามองในแง่นี้ การประกาศกฎอัยการศึกก็คือการมอบอำนาจสูงสุดให้ทหารจัดการนั่นเอง

สุดท้าย ลองมาดูศัพท์ Martial Law กันดีกว่า

Martial = of war, war like เกี่ยวกับสงคราม ความรุนแรง
Martial art = กังฟู
Mars = ดาวอังคาร (Martis = God of war)

วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สัญลักษณ์แทนเลขจำนวนมากๆ

หน่วย สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน

เป็นหลักที่เป็นฐานในการนับเลขของคนไทย

แต่ถ้าลองพิจารณาการนับเลขของคนตะวันตก (ฝรั่ง) กันบ้างหละ

เราจะเห็นว่าเขามีการนับทีละ 3 หลัก ตัวอย่างคือ
ones, tens, hundreds, thousands (หลักหมื่น หลักแสน ไม่มีคำเรียกเฉพาะ แต่ใช้ ten thousands กับ hundred thousands)
แล้วก็เป็นหลัก ล้าน (million) พันล้าน (billion) ล้านล้าน (trillion) พันล้านล้าน (quadrillion) ต่อไปเรื่อยๆ


ปัญหาคงจะไม่เกิด ถ้าฝรั่งทุกๆชาติใช้เหมือนๆกัน แต่ก็อย่างที่เรารู้ๆกันอยู่ อเมริกา กับ อังกฤษ มักจะมีความเห็นหลายๆอย่างไม่ตรงกัน ต่างคนก็ต่างบอกว่าของตัวเองดีกว่า รวมถึงการใช้ภาษาแทนความหมายที่ต่างกันด้วย

ที่เป็นปัญหากันมากๆ ก็คือความหมายของคำว่า billion ที่ใช้กันบ่อยๆ

ในอเมริกา billion จะหมายถึง พันล้าน (thousand millions)
แต่ในอังกฤษ จะหมายถึง ล้านล้าน (million millions)

ทำให้เวลาพูดกันถึงจำนวนนี้ กับคนต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษ ก็ต้องอธิบายกันอย่างให้ชัดแจ้งเลยทีเดียวว่าเราหมายถึงจำนวนเท่าไหร่กันแน่

จากบทความ Name for Large Numbers โดย Russ Rowlett ได้กล่าวไว้ว่า คำว่า -illion เป็นรากศัพท์จากทางลาติน หมายความถึงเลขจำนวนมาก เมื่อเติมพยัญชนะเข้าไปข้างหน้า ก็จะทำให้มีความหมายเป็นเลขจำนวนต่างๆกันดังต่อไปนี้
mono-illion = million (n=1)
bi-illion = billion (n=2)
tri-illion = trillion (n=3)
และอื่นๆ (n=4,5,6,...)

ถ้าผู้อ่านสนใจเลขที่มากกว่านี้ ให้เข้าไปดูที่บทความข้างต้น Russ Rowlett เขียนไว้ครบเลยทีเดียว

ชาวอเมริกัน ให้ค่าต่างๆข้างต้นด้วยสมการ 10^(3n+3) ส่วนชาวอังกฤษจะแทนด้วยสมการ 10^(6n)
ดังนั้น million อเมริกันให้เท่ากับ 10^6 ส่วนอังกฤษก็ 10^6 ไม่มีปัญหา เหมือนกัน
billion อเมริกันให้เท่ากับ 10^9 คือ พันล้าน ส่วนอังกฤษเป็น 10^12 คือ ล้านล้าน

โชคยังพอจะเข้าข้างเราบ้าง ที่อเมริกาดันมีเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่สองดีกว่าทางยุโรป ซึ่งรวมถึงอังกฤษด้วย เลยทำให้ทางอเมริกาที่ยืนยันว่าจะใช้คำว่า billion ให้หมายถึง พันล้าน นั้น ทางยุโรปและอังกฤษต้องจำยอมรับค่านี้ไปด้วย ปัจจุบัน เราเลยใช้ค่า billion ในความหมายของ พันล้าน เป็นค่าที่คนทั่วไปเข้าใจกัน และไม่ค่อยจะเข้าใจผิดกันเท่าไหร่นัก

วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

identical twins

เมื่อพูดถึงแฝดเหมือน ผมเคยคิดแค่ว่าเป็นแฝดเกิดจากไข่ใบเดียวที่ผสมกับอสุจิตัวเดียวแล้วแยกเซลล์ออกเป็นสองคน ซึ่งถ้าแยกสมบูรณ์ก็จะเป็นแฝดเหมือนตามปกติ แต่ถ้าแยกตัวไม่สมบูรณ์ก็จะเป็นเหมือนกับแฝดสยาม อิน-จัน ที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้จนโตเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม เมื่อผมอ่านข่าวนี้
http://www.bbc.com/news/world-us-canada-27378520
ก็ได้พบกับศัพท์คำว่า Monoamniotic twins ซึ่งไม่รู้ว่ามันคืออะไร ก็เลยไปค้นดู ก็พบข้อมูลจาก
http://en.wikipedia.org/wiki/Monoamniotic_twins

บอกให้ทราบว่าจริงๆแล้ว แฝดเหมือน (identical twins) นั้นมีได้ทั้งหมด 4 รูปแบบด้วยกัน คือ
(ก่อนพูดถึงรูปแบบ ขออธิบายศัพท์ 2 คำคือ Chorionic กับ Amniotic โดย
 Chorionic หมายถึง เกี่ยวกับเยื่อหุ้มชั้นนอกของตัวอ่อนสำหรับการสร้างรกของตัวออ่น
 ส่วน Amniotic หมายถึง  เกี่ยวกับถุงนำ้คร่ำ นั่นเอง)

เมื่อรู้ดังนี้แล้วเราลองมาดู 4 รูปแบบของ แฝดเหมือนกันเลยดีกว่า

1. Dichorionic/Diamniotic twins เป็นแฝดเหมือนที่มีการแยกตัวกันสมบูรณ์ที่สุด โดยแฝดแต่ละคนจะมี รก (dichorion) และ ถุงน้ำคร่ำ (diamnion) ของตัวเอง โอกาสรอดชีวิตของ แฝดชนิดนี้สูงทีสุด
2. Monochorionic/Diamniotic twins เป็นแฝดเหมือนที่มีการแยกตัวกันโดยที่ยังแบ่งกันใช้รกชุดเดียวกัน (monochorion) แต่จะมีถุงน้ำคร่ำคนละถุงเป็นของตัวเอง โอกาสรอดชีวิตก็ยังมีสูงอยู่
3. Monochorionic/Monoamniotic twins เป็นแฝดที่ใช้รกและถุงน้ำคร่ำชุดเดียวกัน ทำให้โอกาสเกิดการพันกันของรก รกพันตัวอ่อน จึงมีโอกาสที่จะรอดชีวิตน้อยลง ข่าว BBC ด้านบนเป็นข่าวที่กล่าวถึงทารกแฝดหญิงประเภทนี้ (มักรู้จักกันในชื่อเล่นว่า Mo-Mo twins)
4. Conjoined twins แฝดประเภทนี้คนไทยรู้จักกันดีในนาม แฝดสยาม หรือ แฝดอิน-จัน คือนอกจากใช้รกและถุงน้ำคร่ำชุดเดียวกันแล้ว แฝดคู่นี้ยังไม่แยกตัวออกจากกันอย่างสมบูรณ์ หรือมีอวัยวะบางส่วนร่วมกัน โอกาสรอดชีวิตก็ขึ้นกับว่าใช้อวัยวะส่วนใดร่วมกัน สามารถผ่าตัดแยกจากกันได้หรือเปล่า

ทีนี้ลองอ่านข่าวดูแล้วลองดูประโยคที่น่าสนใจกันบ้างครับ

US twin baby sisters born holding hands - แฝดพี่น้องหญิงชาวอเมริกันจับมือกันขณะลืมตาดูโลก

Jillian and Jenna Thistlethwaite shared an amniotic sac and placenta, a rare condition known as monoamniotic birth. - จิเลียนและเจนน่า ธิเลธเวท แฝดเหมือนใช้รกและถุงน้ำคร่ำร่วมกัน ไม่เกิดขึ้นได้บ่อยนัก
Monoamniotic birth occurs in only one in 10,000 pregnancies. - แฝดเหมือนใช้ถุงนำ้คร่ำร่วมกันเกิดขึ้นเพียงหนึ่งในหมื่นครั้งของการตั้งครรภ์
สุดท้ายผมหวังว่าเด็กทั้งสองพี่น้อง Thistlethwaite จะเติบโตแข็งแรงและรักกันเหมือนที่จับมือกันออกมาตลอดไปครับ